พระธรรมนูญศาลยุติธรรม


พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
ความเป็นมาเกี่ยวกับศาลยุติธรรม
 [1] ศาลยุติธรรม เป็นสถาบันหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยดังกล่าวตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  2550 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดังนั้นศาลยุติธรรมจึงมิใช่องค์กรอิสระตามความหมายที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวแต่เป็นสถาบัน 1ใน 3 ของอำนาจอธิปไตย สำหรับองค์อิสระตามรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนั้นมี 4องค์กร ได้แก่(1 )คณะกรรมการการเลือกตั้ง(2)ผู้ตรวจการแผ่นดิน(3)คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(4)คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญอีก3องค์กรได้แก่1 องค์กรอัยการ 2 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
[2] ประเภทของศาลตามรัฐธรรมนูญ ศาลเป็นผู้ใช้อำนาจจตุลาการ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาจักรไทยพุธศักราช 2550 หมด 10 กำหนดให้มีศาล4 ประเภทใหญ่ได้แก่1 ศาลรัฐธรรมนูญ2 ศาลยุติธรรม3 ศาลปกครอง4 ศาลทหาร ศาลแต่ละประเภทมีลักษณะโดยย่อดังต่อไปนี้
(1) ศาลรัฐธรรมนูญ(Constitutional court) มีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับดังกล่าว โดยเฉพาะอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดกฎหมายฉบับใดขัดหรือแย้งหรือการกระทำใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ
(2) ศาลยุติธรรม (court of justice) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับดังกล่าว มาตรา 218 กำหนดให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวงเว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่นนั้นๆเฉพาะศาลยุติธรรมมีองค์          ประกอบและขอบเขตอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมฉบับนี้  ซึ่งจะได้อธิบายรายละเอียดต่อไป
(3) ศาลปกครอง (Administrative Court) ตั้งขึ้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูย พุทธศักราช 2540 และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 223 กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามกฎหมายบัญญัติรวมทั้งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง แต่อำนาจของศาลปกครองดังกล่าวไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงขององค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น
              กล่าวโดยสรุปศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชา หรือในกำกับดูแลของรัฐบาล ซึ่งพิพาทกับเอกชนหรือคดีที่พิพาทระหว่างหน่วยราชการด้วยกันเอง ซึ่งเป็นข้อพิพาทเนื่องมาจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำที่หน่วยงานของราชการดังกล่าว ต้องปฏิบัติกฎหมาย หรือต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
              ศาลปกครองมี 2 ชั้น คือ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด
(3.1) ศาลปกครองชั้นต้น เป็นศาลที่เริ่มต้นคดี ขณะนี้มีทั้งหมด 8 แห่งด้วยกันได้แก่
(1) ศาลปกครองกลาง ซึ่งมีเขตอำนาจตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม และสมุทรสาคร ในระหว่างที่ศาลปกครองในภูมิภาคยังไม่มีเขตอำนาจในท้องที่ใด ก็ให้ศาลปกครองกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย
(2) ศาลปกครองเชียงใหม่ มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดน่าน จังหวัดพเยา จังหวัดแพร่ และจังหวัดอุตรดิตร
(3) ศาลปกครองสงขลา มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดสงขลา จังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสตูล จังหวัดนราธิวาส  จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
(4) ศาลปกครองราชสีมา มีเขตอำนาจตลอดพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัม จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดศีรสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอำนาจเจริญ
(5) ศาลปกครองขอนแก่น มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดขอนแก่นจังหวัดการสินธิ์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดเลย จังหวัดสกลนคร จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
(6) ศาลปกครองพิษณุโลก มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดสุโขทัย
(7) ศาลปกครองระยอง มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว
(8) ศาลปกครองนครศรีธรรมราช มีเขตอำนาจตลอดท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฏร์ธานี จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง
(3.2) ศาลปกครองสูงสุด มีอยู่ศาลเดียวตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาดีที่อุทธรณ์มาจากศาลปกครองชั้นต้นและมีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
          แต่เดิมก่อนที่จะศาลปกครอง คดีเกี่ยวกับปกครอง อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
         การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครองใช้ระบบใต้ส่วน ซึ่งต่างจากระบบของศาลยุติธรรมที่ใช้ระบบกล่าวหา ทั้งนี้เนื่องคดีปกครองนั้นเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองหรือเอกชนกับหน่วยงานของรัฐ ดังนั้น พยานหลักฐานส่วนใหญ่จะเป็นพยานเอกสาร ซึ่งต่างกับคดีศาลยุติธรรม ซึ่งมีทั้งพยานเอกสารและพยานบุคคล องค์คณะตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นมี3 คน ในศาลปกครองสูงสุดมี5 คน และเนื่องจากใช้ระบบไต่ส่วนจึงแบ่งตุลาการออกเป็น 2 พวก ได้แก่ ตุลาการเจ้าของสำนวนซึ่งทำหน้าที่แสวงหาพยานหลักฐานเข้าสู่สำนวนคดี ซึ่งจะต้องให้คู่ความมีโอกาศโต้แย้งคัดค้านได้
สำหรับการตัดสินใจคดีนั้นจะมีการถ่วงดุลกันโดยมีตุลาการผู้แถลงคดี ซึ่งมีไม่ได้เป็นองค์คณะในคดีนั้น มาทำคำการแถลงการณ์ให้ความเห็นชี้ขาดตัดสินคดีชั้นหนึ่งหากตุลาการองค์คณะไม่เห็นด้วย ก็ต้องมีเหตุผลทีหนักแน่นและน่าเชื่อถือ
โดยกฎหมายบังคับว่าจะต้องเผยแพร่คำพิพากษาขององค์คณะ และ คำแถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงควบคู่กันเสมอ
4. ศาลทหาร จัดตั้งขึ้นตามพะราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.2498 และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอานาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 228 กำหนดให้ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจสารทหารและคดีอื่น ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติกล่าวโดยสรุป ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีอาญาซึ่งจำเลยยังรับราชการหารเป็นทหารอยู่เท่านั้น ถ้าข้าราชการทหารกระทำความผิดร่วมกับพลเรือนหรือข้าราชการทหารผู้นั้นไม่ได้รับราชการแล้ว ก็ต้องขึ้นสารยุติธรรม ศาลทหารก็มีการแบ่งเป็นชั้นได้แก่ ศาลทหารจังหวัด (เทียบเทาศาลชั้นต้น) ศาลทหารกลาง (คล้ายกับสารอุทธรณ์) และศาลทหารสูงสุด(คล้ายกับศาลฎีกา)
ศาลทหารแบ่งออกเป็น 3 ชั้นได้แก่ ศาลทหารชั้นต้น ศาลทหารชั้นกลางและศาลทหารสูงสุด
ศาลทหารชั้นต้นเป็นศาลที่เริ่มต้นคดีและยังแบ่งเป็นประเภทได้แก่
<!--[if !supportLists]-->1.   <!--[endif]-->ศาลจังหวัดทหาร
<!--[if !supportLists]-->2.   <!--[endif]-->ศาลมณฑลทหาร
<!--[if !supportLists]-->3.   <!--[endif]-->ศาลทหารกรุงเทพ
<!--[if !supportLists]-->4.   <!--[endif]-->ศาลประจำหน่วยทหาร
ศาลจังหวัดทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่จำเลยมียศต่ำกว่านายทหารสัญญาบัตร
ศาลมณฑลทหารและศาลประจำหน่วยทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทีจำเลยมียศตั้งแต่นายทหารสัญญาบัตรถึงยศพันเอก
ศาลทหารกรุงเทพ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาโดยไม่จำกัดยศของจำเลยเมื่อคู่ความไม่พอใจคำพิพากษาของศาลหารชั้นต้น ก็มีสิทธิ์อุทธรณ์ไปยังศาลทหารกลาง ก็มีสิทธิ์ฎีกาไปยังศาลทหารสูงสุดได้
นอกจากนี้ยังมีศาลอาญาศึก ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อหน่วยทหารเข้าไปทำการรบในเขตยุทธบริเวณนั้น มีอำนาจพิจาณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวง ซึ่งจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจนั้นโดยไม่จำกัดตัวบุคคลและอัตราโทษ เมื่อศาลอาญาถูกพิพากษาแล้วไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ใดๆทั้งสิ้น
เรื่องทีเกี่ยวกับข้องกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม เป็นกฎหมายพิเศษและมีความสำคัญอย่างยิ่ง แม้แต่ชื่อกฎหมายก็ยังใช้แตกต่างจากกฎหมายฉบับอื่นๆทั่วไป คือ ไม่ใช้คำว่า พระราชบัญญัติและไม่ใช้คำว่าประมวลกฎหมาย แต่ใช้คำว่าพระนำหน้า เหตุที่เป็นกฎหมายสำคัญเพราะเป็นกฎหมายสูงสุดวางกฎเกณฑ์หรือโครงสร้างศาลยุติธรรม จัดระเบียบเกี่ยวกับศาลยุติธรรมทั้งหลายเหมือนว่าเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญของศาลยุติธรรม กล่าวคือ กำหนดรูปแบบของศาลยุติธรรมว่ามีกี่ชั้น แต่ละชั้นมีกี่ศาล แต่ละศาลและอำนาจของผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นคนเดียวหรือสองคนขึ้นไปซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการกำหนดเขตศาลและเขตอำนาจของศาล องค์คณะของผู้พิพากษาอำนาจหน้าที่และความอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีของ ผู้พิพากษาหรือตุลาการศาลยุติธรรมคล้ายกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายที่วางสูงสุดที่วางกฎเกณฑ์ในการจัดระเบียบการปกครองของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ เช่น รัฐสภาประกอบด้วนผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา คณะรัฐมนตรีมีจำนวนกี่คน มีที่มาอย่างไรอำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา อำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีเป็นต้น
                     พระธรรมนูญศาลยุติธรรม  พ.. 2543  ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้  มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป  คือ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่19พฤษภาคม 2543 เป็นต้นมา   ทั้งนี้ตามที่ระบุในพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมอีก4ฉบับซึ่งมีสาระสำคัญที่ควรเข้าใจดังนี้
    (1)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2550
    (2)พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม  พ..2543
   (3)พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม  พ..2543
   (4)พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การแต่งตั้งและการดำรงตำแหน่งผู้พิษากอาวุโส  พ..2542

       1.ให้ยกเลิกพระธรรมนูญศาลยุติธรรมพุทธศักราช 2477 ตลอดจนบทบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มกฎหมายพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฉบับเก่าทั้งหมด  และให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรมฉบับใหม่  พ..2543
        2.ศาลยุติธรรมไม่ได้สังกัดอยู่กับกระทรวงยุติธรรมต่อไปอีกแล้ว แต่ให้สังกัดอยู่ในสำนักงานศาลยุติธรรมซึ่งทำหน้าที่แทนตัวกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่ากรากระทรวงยุติธรรมไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับศาลยุติธรรมต่อไปอีกแล้ว อำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมนั้นได้โอนไปเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมหรือ ก.บ.ศ. โดยให้ประธานศาลฎีกาเป็นประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรมและตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมและตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 33 กำหนดให้ประธานศาลฎีกามีความหมายถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเดิม ดังนั้นจึงกำหนดให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 อย่างไรก็ตาม แม้ศาลยุติธรรมจะไม่ได้สังกัดอยู่กับกระทรวงยุติธรรมต่อไป แต่ มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ก็ได้บัญญัติรับรองว่าบรรดาพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบราชการฝ่ายตุลาการระเบียบ ข้อบังคับ และบรรดาคำสั่งต่างๆ ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมที่ตราหรือออกโดยอาศัยอำนาจตามพระธรมมนูญศาลยุติธรรมฉบับเก่าให้มีผลบังคับใช้ต่อไปได้จนกว่าจะมีการออกประกาศฉบับใหม่ใช้บังคับแทน
      3.บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องในวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ..2543 มีผลบังคับใช้ ก็ให้บังคับตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ..2543  ส่วนคดีที่ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมฉบับใหม่จะมีผลใช้บังคับ  ก็ให้บังคับตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมนูญฉบับเก่า พ..2477  ต่อไปจนกว่าคดีนั้นจะถึงที่สุด  เว้นแต่กรณีตามมาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 มาตรา และมาตรา31 แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมฉบับใหม่นี้ ก็ให้มีผลใช้บังคับกับคดีเก่าตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น